วันอังคารที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560

สอบปฏิบัติออกแบบคอมพิวเตอร์ ตามคุณลักษณะที่กำหนด



CPU INTEL Pentium G4560 - 2,150
MB MSI H110M GAMING - 2,390 
RAM KINGSTON Hyper-X Fury DDR4 4GB 2133 Black - 1,450 
HDD SEAGATE BARRACUDA 1TB - 1,480
PSU CORSAIR VS550 - 1,790
CASE AERO COOL SI-5100 Window - 1,250
COOLING COOLER MASTER Hyper 103 - 830
MONITOR BENQ GW2270 - 3,390
(2in1) USB OKER (KM-2068) Black - 340
DVD RW SATA 24X LITE-ON รุ่น iHAS124 (B/P) - 445
ราคารวม 15,515 บาท

วันพุธที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มาตรฐานระบบเสียงคอมพิวเตอร์ และ การจัดวางลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง

มาตรฐานแบบเก่า

 

AC ‘97 มาตรฐานการ์ดเสียงออนบอร์ด

   ในทุกวันนี้ เราซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้งานในราคาประหยัด มักจะมีสิ่งต่างๆ วางเรียงรายบนเมนบอร์ด เพื่อราคาที่เราคว้าถึง และหนึ่งในนั้นคือ Sound CardSound Card ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราพูดได้ (ฮา) และที่เราพบเห็นๆ ถึงเทคโนโลยีที่ใช้นั้น นับวันจะมีความสามารถมากขึ้น อย่างเทคโนโลยี Audio Codec ‘97 หรือที่เราเห็นติดตา ได้ยินติดหูว่า AC ‘97 นั้นเอง โดยมาตรฐานของ AC ‘97 มีรายละเอียดดังนี้…
AC ‘97 Version 1.0 กำหนดให้สเปคพื้นฐานของระบบเสียงนั้นจำเป้นต้องมี การเชื่อมต่อลำโพงอย่างน้อย 2 ตัว มีการเชื่อต่อกับซีดีรอม ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐาน
AC ‘97 Version 2.1 เพิ่มความสามารถพื้นฐานขึ้นมาอีกหน่อยครับ โดยเราสามารถเชื่อต่อลำโพงได้มากกว่า 2 ตัว
AC ‘97 Version 2.2 ความสามารถก็เพิ่มขึ้นมาอีกขั้น โดยมีการรองรับการเชื่อมต่อแบบ S/PDIF ทำให้เสียงที่ถูกส่งมาในรูปแบบดิจิตอล ถูกถอดรหัสที่ลำโพงโดยตรง ในวิธีการนี้ จะทำให้ระบบเสียงของเราคมชัดมากขึ้น
AC ‘97 Version 2.3 ได้เพิ่มการปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ได้ด้วยตนเอง และมีระบบเตือนในกรณีเราต่อหัวต่อผิด โดยจะมีเสียงปี๊บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ดังออกมา นับเป็นสิ่งที่ดีขึ้นมาก
พัฒนาขึ้นโดย Intel Architecture Labs ในปีพ. ศ. 2540 

มาตรฐานแบบใหม่ 

High Definition Audio

 Intel HD Audio มีการปรับปรุงที่สำคัญกว่าการ์ดเสียงและการ์ดเสียงรุ่นก่อน ๆ ฮาร์ดแวร์ Intel HD Audio สามารถรองรับการรองรับและคุณภาพเสียงได้สูงสุด 8 แชนแนลที่คุณภาพ 192 kHz / 32 บิตขณะที่ข้อกำหนด Analog Codec '97 สามารถรองรับช่องสัญญาณได้ 6 ช่องที่ 48 kHz / 20-bit เท่านั้น นอกจากนี้ Intel HD Audio ยังจัดทำขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาหรือมีปัญหาด้านเสียงที่อาจเกิดขึ้นโดยการให้แบนด์วิดท์ของระบบโดยเฉพาะสำหรับฟังก์ชั่นเสียงที่สำคัญ

การใช้นวัตกรรมสำหรับบ้านดิจิตอล

 Dolby Laboratories เลือกใช้ Intel HD Audio เพื่อนำเทคโนโลยีคุณภาพเสียงรอบทิศทาง Dolby ไปใช้กับเครื่องพีซีในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการโลโก้พีซีที่ประกาศเมื่อเร็ว ๆ นี้ การรวมกันของเทคโนโลยีเหล่านี้นับเป็นก้าวสำคัญในการนำเสนอระบบเสียงดิจิตอลที่มีคุณภาพแก่ผู้บริโภค Intel HD Audio สามารถรองรับเทคโนโลยี Dolby ทั้งหมดรวมถึง Dolby Pro Logic * IIx ล่าสุดซึ่งทำให้สามารถเพลิดเพลินกับเนื้อหาสเตอริโอเก่า ๆ ในระบบเสียงรอบทิศทาง 7.1 แชนเนล

คุณลักษณะขั้นสูง

  Intel HD Audio ยังช่วยให้การจับภาพด้วยเสียงเพิ่มขึ้นผ่านการใช้ไมโครโฟนแบบอาร์เรย์ทำให้ผู้ใช้ป้อนคำพูดได้แม่นยำยิ่งขึ้น แม้ว่าการใช้งานระบบเสียงอื่น ๆ จะได้รับการสนับสนุนอย่าง จำกัด สำหรับไมโครโฟนอาร์เรย์ที่เรียบง่าย Intel HD Audio สนับสนุนไมโครโฟนขนาดใหญ่ เมื่อเพิ่มขนาดไมโครโฟนอาร์เรย์ผู้ใช้จะได้รับข้อมูลที่สะอาดอย่างไม่น่าเชื่อผ่านการตัดเสียงรบกวนที่ดีขึ้นและการสร้างลำแสง การรับส่งข้อมูลด้วยเสียงผ่าน IP (VoIP) และกิจกรรมเกี่ยวกับเสียงอื่น ๆ
  นอกจากนี้ Intel HD Audio ยังมีการปรับปรุงที่ช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลได้ดีขึ้น คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้ได้เมื่อเสียบอุปกรณ์เข้ากับแจ็คสัญญาณเสียงแล้วกำหนดอุปกรณ์ชนิดใดและเปลี่ยนฟังก์ชันพอร์ตถ้าอุปกรณ์ถูกเสียบเข้ากับพอร์ตที่ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่นหากเสียบไมโครโฟนเข้ากับแจ็คลำโพงคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข้อผิดพลาดและจะสามารถเปลี่ยนแจ็คเพื่อทำหน้าที่เป็นช่องเสียบไมโครโฟนได้ นี่เป็นขั้นตอนสำคัญในการรับสัญญาณเสียงไปยังจุดที่ "ใช้งานได้" - ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับการให้อุปกรณ์ถูกเสียบเข้ากับช่องเสียบเสียงขวา


ความแตกต่างระหว่างเก่าและใหม่

AC97 มาตราฐานเก่า รุ่นสูงสุดเป็น 5.1 สามารถพบเจอได้ในเมนบอร์ดรุ่นราคาประหยัด

ส่วน HD Audio เป็นมาตราฐานใหม่ยุค HD 7.1 พบเจอได้ในเมนบอดทั่วไปจนถึงรุ่นดีๆ

การจัดวางลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง 

การติดตั้งระบบเสียง 5.1


  • ลำโพงกลาง Center (C) ควรอยู่ตรงกลางตำแหน่งวางอยู่ข้างล่างทีวี ตรงกหน้าตำแหน่งที่นั่ง
  • ลำโพงหน้า Front (F) ทั้งซ้าย-ขวาควรทำมุมเฉียงกับคนนั่ง ด้านซ้ายของลำโพงทำมุมประมาณ 30 องศาและด้านขวา 20 องศา
  • ลำโพงเสียงรอบทิศทาง Surround (S) ทั้งซ้าย-ขวาควรปรับให้อยู่ในระดับหู เอียงเข้าหาคนนั่งและอยู่ในแนวระนาบเดียวกับคนนั่ง

การติดตั้งระบบเสียง 7.1 (front wide)

  • ลำโพงหลักทั้ง 5 ตัวมีการจัดวางแบบเดียวกับระบบเสียง 5.1 แต่มีตำแหน่งลำโพงเพิ่มขึ้นมาอีกสองตัวคือ ลำโพงหน้ากว้าง หรือ Front Wide (FW)
  • การจัดลำโพง Front Wide (FW) ทั้งซ้าย-ขวา ควรอยู่ตรงกลางระหว่างลำโพงหน้าและลำโพงหลัง โดยทำมุมเอียงเข้าหาคนนั่งประมาณ 60 องศา

การติดตั้งระบบเสียง 7.1 (surround back)

  • มีการขยับตำแหน่งลำโพงจากตำแหน่ง Front Wide (FW) ให้เปลี่ยนมาอยู่ด้านหลัง หรือที่เรียกว่า Surround Back (SB)
  • ตำแหน่งลำโพง Surround Back ทั้งซ้าย-ขวาควรอยู่ด้านหลังคนนั่ง ตรงกับลำโพงหน้า ทำมุมเฉียงเข้าหาคนนั่งประมาณ 60 องศา

การติดตั้งระบบเสียง 9.1


  • เป็นรูปแบบการจัดวางระบบเสียงแบบเดียวกับระบบเสียง 7.1 แต่มีการเพิ่มลำโพงสูงเข้ามา หรือที่เรียกว่า Front Hight (FH)
  • สำโพง Front Hight (FH) ทั้งซ้าย-ขวา ควรติดให้ตรงกันกับลำโพงหน้า Front (F) ที่อยู่ด้านล่าง
  Tip: การติดตั้งระบบเสียง 9.1 สามารถทำได้สามแบบคือ การวางทั้งลำโพง Front Wide (FW) และ Surround Back (SB) เข้าไว้ด้วยกันตามรูปข้างบน และแบบตัดลำโพง Front Wide (FW) หรือ Surround Back (SB) อย่างใดอย่างหนึ่งออก

วันอังคารที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประเภทของ Printer


ประเภทของ Printer และการใช้งาน

          หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่า printer ที่เราใช้งานกันอยู่ทุกวันนี้ มีกี่ชนิดหรือกี่ประเภท และแต่แบบมีลักษะอย่างไร บทความนี้ผมจะขออธิบายให้คุณผู้อ่านทราบถึง ประเภทของ printer แบบต่างๆ และการใช้งานที่แตกต่างกัน เพื่อที่จะได้เลือกใช้งาน printer แต่ละแบบได้อย่างเหมาะสมครับ

ประเภทของ printer แบบต่างๆ และการใช้งาน


1. Dotmatrix printer 

 เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ในสมัยก่อนเคยเป็นที่นิยม ลักษณะการพิมพ์เป็นแบบใช้หัวเข็ม และไม่ได้ใช้ตลับหมึกแต่ใช้ผ้าหมึกแทน




การใช้งาน มักใช้พิมพ์งานที่ต้องการทำสำเนา เนื่องจากเครื่องพิมพ์ลักษณะนี้มีแรงกด และสามารถพิมพ์กระดาษต่อเนื่องได้ และอายุการใช้งานค่อนข้างนาน แต่มีข้อเสียอยู่ที่คุณภาพงานพิมพ์ต่ำเมื่อเทียบกับ printer ประเภทอื่นๆ และมีเสียงดังขณะพิมพ์งาน

2. Inkjet printer 

 เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทนี้ ในปัจจุบันค่อนข้างได้รับความนิยมค่อนข้างมาก เนื่องจากราคาที่ไม่สูงจนเกินไป คุณภาพงานพิมพ์เป็นที่ยอมรับ และการใช้งานได้ค่อนข้างหลากหลาย ลักษณะการพิมพ์ จะเป็นการพ่นหมึกพิมพ์เป็นหยดๆ ลงบนกระดาษ





การใช้งาน สามารถพิมพ์งานได้หลากหลาย เอกสาร, ภาพถ่าย, โปสการ์ด แต่โดยทั่วไปมักมีขนาดไม่เกิน A3 และมีสินค้าให้เลือกหลายรุ่นตามระดับราคา และฟังก์ชันที่ต้องการ

3. Laser printer 

 ลักษณะการพิมพ์ของ printer ประเภทนี้ ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก





การใช้งาน เหมาะสำหรับการพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพที่สูงมากขึ้น เอกสารสำคัญต่างๆ หรืองานที่ต้องการความคมชัดและสวยงามมากกว่าการพิมพ์อิงค์เจ็ทโดยทั่วไป แต่เครื่อง print ประเภทนี้มีราคาสูง และต้นทุนในการใช้งานและบำรุงรักษาก็สูงมากขึ้นด้วย


4. Plotter 

เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลต่างๆ ลงบนกระดาษที่ทำมาเฉพาะงาน พล็อตเตอร์ทำงานโดยใช้วิธีเลื่อนกระดาษ โดยสามารถใช้ปากกาได้ 6-8 สี ความเร็วในการทำงานของ พล็อตเตอร์มีหน่วยวัดเป็นนิ้วต่อวินาที (Inches Per Second : IPS) ซึ่งหมายถึงจำนวนนิ้วที่พล็อตเตอร์สามารถ เลื่อนปากกาไปบนกระดาษ




การใช้งานเหมาะสำหรับงานเกี่ยวกับการเขียนแบบทางวิศวกรรม และงานตกแต่งภายใน ใช้สำหรับวิศวกรรมและสถาปนิก งานพิมพ์ขนาดใหญ่มีหน้ากว้าง เหมาะสำหรับทำงานด้านป้ายหรือโฆษณา

5. Multifunction printer

 เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็น printer ที่รวบรวมฟังก์ชันที่หลากหลายในการทำงานไว้ในเครื่องตัวเดียว เช่น สามารถ scan, copy หรือรับ-ส่งแฟ็กซ์ ได้ในตัวเอง ทำให้มีความสะดวกสบายในการใช้งานที่ค่อนข้างมาก แต่ทั้งนี้ราคาก็มักจะสูงตามความสามารถที่มากขึ้นด้วย




การใช้งานที่หลากหลายนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มค่า และสะดวกสบายในการทำงาน ซึ่งสามารถเลือกฟังก์ชันจากรุ่นที่มีได้ตามต้องการ

นอกจากประเภทของ printer ต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์ที่สำหรับพิมพ์งานเฉพาะด้าน อีกหลายแบบด้วยกัน เช่น เครื่องพิมพ์ฟิล์ม, เครื่องพิมพ์สติกเกอร์-ป้ายต่างๆ เป็นต้น ซึ่ง ผมขอไม่ลงรายละเอียดไปมากกว่านี้แล้วกันนะครับ

วันพุธที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2560

สแกนเนอร์และเครื่องอ่านบาร์โค้ด

เครื่องสแกนเนอร์

  สแกนเนอร์ (Scanner) หมายถึง อุปกรณ์ต่อพ่วงที่ทำหน้าที่กวาดจับภาพ ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่อ่านโดยช่องอ่านของสแกนเนอร์และเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์รูปภาพหรือไฟล์อักษรซึ่งใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บน้อยกว่าไฟล์รูปภาพเป็นพันๆเท่า โดยการใช้โปรแกรมจดจำตัวอักษรที่เรียกว่าโปรแกรมOCR (OpticalCharacterRecognition) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บเอกสาร และช่วยให้งานพิมพ์เอกสารลดลงได้อย่างมากมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะจัดเก็บไว้ในรูปแบบของไฟล์รูปภาพ จึงเรียกอุปกรณ์นี้ว่า อิมเม็จ สแกนเนอร์ ( Image Scanner) ซึ่งสามารถจัดเก็บและบันทึกไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถนำส่งออกไปเป็นแฟ็กซ์ หรือเป็นไฟล์ข้อมูลผ่านทาง Fax/Modem ได้

  สแกนเนอร์เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเพื่อแปลงเป็นข้อมูลเข้าไปสู่เครื่องได้โดยตรง หน่วยประมวลผลจะนำข้อมูลที่ได้รับมานั้นแสดงเป็นภาพให้ปรากฏอยู่บนจอภาพ เพื่อนำมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์อื่นๆ ได้ การทำงานของสแกนเนอร์อาศัยหลักของการสะท้อนแสง โดยเมื่อเราวางภาพลงไปในสแกนเนอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะวิธีการใช้งานของสแกนเนอร์แต่ละแบบว่าจะใส่ภาพเข้าไปอย่างไร สแกนเนอร์จะทำการฉายแสงไปกระทบกับวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ข้อมูลในแถวนั้นๆ ก็จะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในลักษณะสัญญาณดิจิตัลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไปยังภาพแถวต่อไป สัญญาณที่ได้จากแถวต่อมาก็จะถูกส่งต่อเนื่องกันไปจนสุดภาพ

สแกนเนอร์แบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ

สแกนเนอร์มือถือ (Hand-Held Scanner) มีขนาดเล็ก ราคาไม่แพงนัก เก็บภาพขนาดเล็กๆ ซึ่งไม่ต้องการความละเอียดมากนักได้ เช่น โลโก้ ลายเซ็น เป็นต้น

สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet-Fed Scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่ใหญ่กว่าสแกนเนอร์มือถือ ใช้หลักการดึงกระดาษขึ้นมาสแกนทีละแผ่น แต่มีข้อจำกัดคือถ้าต้องการสแกนภาพจากหนังสือที่เป็นรูปเล่ม ต้องฉีกกระดาษออกมาทีละแผ่น ทำให้ไม่สะดวกในการสแกน คุณภาพที่ได้จากสแกนเนอร์ประเภทนี้อยู่ในระดับปานกลาง

สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner) เป็นสแกนเนอร์ที่มีกระจกใสไว้สำหรับวางภาพที่จะสแกน เหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร คุณภาพของงานสแกนประเภทนี้จะดีกว่าสแกนเนอร์แบบมือถือ หรือสแกนเนอร์แบบดึงกระดาษ แต่ราคาสูงกว่าเช่นกัน

ปัจจุบันสแกนเนอร์รุ่นใหม่ๆ มีขีดความสามารถในการใช้งานมากขึ้นทั้งในเรื่องของความเร็ว และความละเอียดของภาพที่ได้จากการสแกน นอกจากนี้ยังสามารถสแกนจากวัตถุอื่นๆ ที่ไม่ใช่กระดาษเพียงอย่างเดียว เช่น วัตถุ 3 มิติ ที่มีขนาดและน้ำหนักที่ไม่มากจนเกินไป หรือแม้กระทั่งฟิล์มและสไลด์ของภาพต้นฉบับเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลยโดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปอัดขยายเป็นภาพถ่ายปกติเหมือนในอดีต

ส่วนประกอบของสแกนเนอร์

1. แผ่นปิด (Document Cover)เป็นส่วนที่มีความสำคัญ เพราะใช้สำหรับป้องกันแสงจากภายนอกที่อาจจะเข้าไปรบกวนในขณะที่สแกนเนอร์ทำงาน ดังนั้นเมื่อสแกนภาพทุกครั้งจะต้องปิดแผ่นปิดเสมอ แต่บางครั้งอาจจะถอดฝาดังกล่าวออกได้หากเอกสารที่นำมาสแกนมีความหนาและสามารถที่ปิดกระจกวางได้สนิท

2. แผ่นกระจกวางรูป (Document Table) เป็นบริเวณที่นำภาพมาวางขณะสแกนภาพ

3. คาร์เรียจ (Carriage) เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดสำหรับการสแกนภาพ ประกอบด้วยอุปกรณ์หลักๆอยู่ 2 ประเภท คือ ตัวตรวจจับแสง (Optical Sencor) และหลอดฟลูออเรสเซนต์

4. แผงหน้าปัทม์ควบคุม ใช้สำหรับกำหนดและควบคุมการทำงานสแกนเนอร์ ในเรื่องของความละเอียด ความสว่าง (Brightness) สัดส่วนขนาดของภาพ และการเลือกพิมพ์จากภาพสแกน

5. ดิพสวิตซ์ ใช้สำหรับบอกลักษณะการติดต่อระหว่างสแกนเนอร์กับคอมพิวเตอร์

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสแกนภาพ

1. สแกนเนอร์
2 . สาย SCSI หรือ USB (Universal Serial BUS )สำหรับต่อสายจากการสแกนเนอร์กับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
3 . ซอฟต์แวร์สำหรับการสแกนภาพ ซึ่งทำหน้าที่สำหรับควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพได้ตามที่กำหนด
4. ซอฟต์แวร์สำหรับการแก้ไขภาพที่สแกนมาแล้วเช่นPhotoshopImagescanIIหรือกรณีที่ต้องการสแกนเอกสารเก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำกลับมาแก้ไขได้ อาจจะมีซอฟต์แวร์ที่สนับสนุนการทำงานด้าน OCR
5 . จอภาพที่เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
6 . เครื่องมือสำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกนออกมา เช่น เครื่องพิมพ์หรือ สไลด์โปรเจคเตอร์

การทำงานของสแกนเนอร์

1. เทคนิคการสแกนภาพ

- สแกนเนอร์สีแบบสแกนผ่านครั้งเดียว ( One-Pass Scanners)
- สแกนเนอร์สีแบบสแกนผ่านสามครั้ง ( Three-Pass Color Scanners)

ผังการทำงานของสแกนเนอร์ขาวดำ

2. เทคโนโลยีการสแกนภาพ

- แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
- แบบ CCD (Charge-Coupled Deiver)
- แบบ CIS (Contact Image Sensor)

3. โปรแกรมควบคุม

4. การบันทึกข้อมูล

- รูปแบบของข้อมูลภาพ (Image Data Type)
- ภาพขาวดำ (Black & White)
- ภาพสีเทา (Grayscale)
- ภาพ 16 และ 256 สีที่ได้กำหนดไว้แล้วในตารางสี ( Indexed 16 and 256-Color)
- ภาพ RGBสีจริง (RGB True Color)
- ภาพ 8 สี (RGB 8-Color)
- ตัวหนังสือ
- รูปแบบของไฟล์รูปภาพมาตรฐาน

ตาราง ตัวอย่างมาตรฐานไฟล์รูปภาพ

 

รูปแบบ
คำอธิบาย
TIFF
(Tagged Image File Format) พัฒนาขึ้นโดย บริษัท Aldus และ Microsolf ในปี 1986เพื่อใช้ร่วมกับสแกนเนอร์แบบตั้งโต๊ะและงานพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (DTP-Desktop Publisher) รูปแบบของ TIFFที่ยังไม่บีบอัดคือ TIFF แบบธรรมดาจะไม่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรม แต่ถ้าเป็น TIFF แบบบีบอัดข้อมูลแล้วจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์และโปรแกรม iPhoto Deluxe สามารถอ่านไฟล์ TIFF แบบบีบอัดส่วนมากได้ และยังสามารถเก็บบันทึกภาพด้วย TIFF แบบบีบอัดได้ โปรแกรมอื่น ๆที่สนับสนุนไฟล์ TIFF ได้แก่ ColorStudio, CoreIDRAW, PageMaker, PC Paintbrush IV Plus, PhotoShop, Piccture Publisher Plus, PowerPoint, PrePrint และ Ventura Publisher เป็นต้น
TGA
(Targa) พัฒนาขึ้นโดยบริษัท TrueVision สำหรับใช้กับอุปกรณ์บอร์ดวีดิโอสีแบบเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบอร์ด TARGA นับเป็นรูปแบบของไฟล์ภาพที่ใช้กันเฉพาะในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
BMP
(Windows Bitmap) ผลิตโดยบริษัท Microsoft เป็นรูปแบบที่ยอมให้วินโดวส์และแอปพลิเคชั่นของวินโดวส์แสดงภาพได้บนอุปกรณ์ต่างๆ รูปแบบนี้สามารถเก็บบันทึกไว้เป็นสี เพื่อนำมาใช้งานในภายหลังได้ เช่นโปรแกรมที่ใช้กับ Windows Paintbrush หรือโปรแกรม Windows เองโดยตรง

5. การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

- ขนาดของไฟล์ภาพและความคมชัด
- ตั้งค่า Resolution ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
- ขนาดของไฟล์ที่สแกนได้
- เฉดสีหลากหลาย

โปรแกรมที่ใช้กับสแกนเนอร์

1. โปรแกรมไดร์เวอร์สำหรับสแกนเนอร์

เป็นโปรแกรมที่จำเป็นที่สุดในการใช้งานสแกนเนอร์ โปรแกรมดังกล่าวจะต้องมาพร้อม กับอุปกรณ์ โดยอาจจะบรรจุอยู่ในแผ่นดิสก์ติดตั้งแยกต่างหาก หรืออาจรวมมากับโปรแกรม OCR หรือโปรแกรมแต่งภาพก็ได้ ไฟล์ที่ใช้งานมักจะลงท้ายด้วย .sys หรือ .drv เสมอ

2. โปรแกรม OCR

OCR ย่อมาจาก Optical Character Recognition เป็นโปรแกรมที่สามารถจดจำตัว อักษรและสามารถแปลงไฟล์กราฟิกหรือไฟล์รูปภาพ(Graphic File)ให้เป็นไฟล์ตัวอักษร (text File)ได้ ช่วยให้ไม่ต้องพิมพ์ข้อความต่างๆที่มีอยู่ซ้ำด้วยแป้นพิมพ์ เพียงแต่สแกนด้วยสแกนเนอร์ แล้วใช้คำสั่งที่มีอยุ่ในโปรแกรมแปลงภาพที่ต้องการเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของไฟล์ตัวอักษร ก็สามารถเรียกไฟล์ดังกล่าวออกมาดู แก้ไข ดัดแปลง โดยใช้โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ใดๆก็ได้ ช่วยลดงานพิมพ์ลงเป็นจำนวนมาก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายลงได้ โปรแกรมเหล่านี้มักจะมีคำว่า OCR เป็นส่วนประกอบของชื่อโปรแกรมอยู่ด้วย เช่น โปรแกรม ReadiRis OCR โปรแกรม ThaiOCR และ โปรแกรม Recognita GO_CR เป็นต้น โปรแกรม OCR นอกจากจะใช้คู่กับสแกนเนอร์แล้ว ยังพบอยู่กับโปรแกรมที่ใช้คู่กับ Fax/Modemอีกด้วย ทั้งนี้เพราะสามารถใช้เครื่องส่งโทรสารหรือเครื่องส่งแฟ็กซ์ แทนสแกนเนอร์ได้ หรือจะเรียกเครื่องโทรสารเป็นสแกนเนอร์ชนิดได้ โปรแกรมแฟ็กซ์/โมเด็มที่กล่าวถึงได้แก่ โปรแกรม QuickLink Gold โปรแกรม WinFax Pro โปรแกรม SuperFax โปรแกรม UltraFax เป็นต้น

3. โปรแกรมแต่งภาพและจัดอัลบัมภาพ

เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับตกแต่งภาพที่ได้จากการสแกน และภาพจากไฟล์กราฟิกที่มี นามสกุลต่าง ๆ เช่น TIF, BMP, PCX, TGA, GIF, SPG, CGM, EPS, PCD, WMF ฯลฯ ชื่อโปรแกรมมักมีคำว่า Photo หรือ Image ร่วมอยู่ด้วย เช่น โปรแกรม iPhoto Deluxe โปรแกรม ImagePro โปรแกรม ImagePals! Go! เป็นต้น แต่ก็อาจจะไม่มีคำดังกล่าวก็ได้ เช่น โปรแกรม Finishing TOUCH เป็นต้น โปรแกรมกราฟิกและโปรแกรมสำหรับทำ Presentation ก็มักจะมีคำสั่ง Scan สำหรับใช้กับสแกนเนอร์ด้วยเช่นกัน เช่น โปรแกรม CorelDraw! เป็นต้น

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้

1. ภาพ Single Bit

ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุดใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูล น้อยที่สุดและ นำมาใช้ประโยชน์อะไรไ่ม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุดใช้พื้นที่ ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single-bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ

- Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต

- Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single-bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ

2. ภาพ Gray Scale

ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิมภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจุดของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่า ต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น

3. ภาพสี

หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ควาามสามารถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร

4. ตัวหนังสือ

ตัวหนังสือในที่นี้ ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้อง พิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสาร ดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอก จากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Reconize) มาแปลงแฟ้มภาพเป็น เอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ไขได้

ประเภทของเครื่องสแกนเนอร์

1. แบบเลื่อนกระดาษ (Sheet-fed scanner)

สแกนเนอร์ แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อย ๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกนซึ่ง อยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบเลื่อนกระดาษ คือ สามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถอ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้

2. แบบแท่นนอน (flatbed scanner)




สแกนเนอร์ แบบนี้จะมีกลไกคล้าย ๆ กับเครื่องถ่ายเอกสาร เราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้บนแผ่นกระจกใส และเมื่อทำการสแกน หัวสแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์ แบบแท่นนอน คือ แม้ว่าอ่านภาพจากหนังสือได้ แต่กลไกภายในต้องใช้ การสะท้อนแสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก

3. แบบมือถือ (Hand-held scanner)



สแกนเนอร์ แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพเอง สแกนเนอร์ แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหนขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอ ในการเลื่อนหัวสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน

ประเภทเครื่องอ่านบาร์โค้ด Barcode Scanner และ QR CODE

ประเภทตามเทคโนโลยีเซนเซอร์
1. Pen Type Scanner


ลักษณะเหมือนปากกาใช้วิธีการลากเพื่ออ่านค่า โดยภายในตัวเครื่องอ่านจะมีเซนเซอร์อันเดียวเพื่อรับแสงสะท้อนในส่วนที่เงาดำกับเงาขาว ปัจจุบันไม่นิยมใช้แล้วเนื่องจากช้าและราคาเครื่องสแกนอื่นๆราคาต่ำลง

2. CCD readers



CCD (Charge Coupled Device) จะคุ้นเคยกันบ้างในเทคโนโลยีกล้องถ่ายรูป เป็นเทคโนโลยีเดียวกัน แต่ CCD readers จะมีเซนเซอร์รับการสะท้อนแสงเป็นแนวยาว ถือว่าเป็นเทคโนโลยีแบบเก่าดั้งเดิม จะสแกนได้กว้างสุดตามความยาวของตัวสแกนเนอร์

3. Laser readers



Laser Scanner จะมีเส้นสแกนเป็นแสงเลเซอร์

จะใช้เลเซอร์ซึ่งมีความเข้มแสงสูงยิ่งไปที่บาร์โค้ด จับความถี่แสงที่สะท้อนกลับ ข้อดีคือ ความแม่นยำสูง สแกนระยะไกลได้ สูงสุดได้ถึง 60-80ซม. สแกนได้แม้ป้ายบาร์โค้ดสั่นไหว

4. Imaging Scanner



Image Scanner มีกล้องอยู่ตรงกลาง
การใช้เทคโนโลยี CCD แต่ที่แตกต่างจาก CCD readers คือความละเอียดที่สูงขึ้น คือ หลายล้าน pixel เพราะจะมีการถ่ายรูปออกมาเหมือนกล้องถ่ายรูป ทำให้ข้อมูลที่สู่เครื่องรับจะได้ตัวบาร์โค้ดทั้งหมดมาประมวลผ่านวงจรคำนวณ ปัจจุบันเทคโนโลยีนี้สูงขึ้น ความละเอียดมาก ทำให้มีความแม่นยำสูง ซึ่งจะแม่นยำกว่าเครื่องอ่านประเภทอื่นๆ แต่ราคาจะแพงเพราะสามารถอ่านได้ทั้ง 1D 2D คุณสมบัติ คือ สามารถสแกนได้ทุกทิศทาง 360 องศา ไม่ต้องจับป้ายให้ตรงกับบาร์โค้ด สามารถสแกนบาร์โค้ดที่คุณภาพการพิมพ์ต่ำได้ เพราะเครื่องรับภาพบาร์โค้ดทั้งหมดมาประมวล

บาร์โค้ดคุณภาพต่ำ เครื่องอ่านชนิดอื่นอ่านไม่ได้ แต่ Image Scanner สามารถอ่านได้

ประเภทตามรูปลักษณ์

1. แบบด้ามปืน


2. แบบยึดติดฐาน



ทำงานโดยเคลื่อนป้ายบาร์โค้ดเข้าหาเครื่องอ่านซึ่งสามารถสแกนอัตโนมัติ และไม่ต้องสนใจทิศทางของป้าย Omni Directional
3. แบบที่รูดบัตร

4. แบบ PDA Mobile





PDA Mobile คือคำตอบเพราะมีคอมพิวเตอร์ในตัว สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบได้ทันทีแบบไร้สาย อีกทั้งสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อทำงานได้สูงขึ้น เช่น ยิงบาร์โค้ดเสร็จ ก็ถ่ายรูปสินค้าเก็บไว้ ปัจจบัน จะใช้ OS Windows CE,Windows Mobile และ Android

5. โทรศัพท์มือถือ



โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน มีการติดกล้องมาตัวเพียงหา Application ของการอ่านมาติดตั้งก็ใช้ได้ แต่คุณภาพจะเหมาะกับการใช้งานแบบส่วนตัวหรือใช้เป็นครั้งคราว เพราะประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการใช้งานจะไม่สามารถสู้กับอุปกรณ์ที่ทำออกแบบมาเฉพาะได้

QC CODE


หลาย ๆ ท่านคงเคยเห็นภาพที่มีสัญลักษณ์จุดสีเหลี่ยมเรียงต่อกันเป็นลายๆ ผ่านสายตา เช่น ปรากฎตามป้ายโฆษณา บนกล่องผลิตภัณฑ์ หรือบนหน้าเว็บไซต์ก็มีนะคะ ซึ่งเราเรียกสิ่งนี้ว่า "QR Code" ค่ะ

ซึ่ง ReadyPlanet HowTo วันนี้ มีข้อมูลเกี่ยวกับ QR Code มาฝาก เราไปดูกันค่ะว่า QR Code คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ไปจนถึงมีวิธีการสร้างที่ยากง่ายเพียงใด และนำมาใส่ในระบบเว็บไซต์สำเร็จรูปได้หรือไม่ ไปติดตามกันเลยค่ะ

QR Code คืออะไร?

QR Code ย่อมากจาก Quick Response Code แปลว่า โค้ดที่มีการตอบสนองอย่างรวดเร็ว สามารถเก็บข้อมูล ได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข และ Binary เช่น ชื่อเว็บไซต์, เบอร์โทรศัพท์, ข้อความ, E-mail ฯลฯ และมีการแปลงข้อมูล (Encode) และถอดรหัส (Decode) ด้วยการใช้รูปแบบ 2D ด้วย ซอฟต์แวร์การถอดรหัสจากภาพหรือวีดีโอค่ะ

หลักการทำงานของ QR Code

QR Code มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Barcode ที่อยู่บนกล่องหรือผลิตภัณฑ์ทั่วไป แต่การอ่าน Barcode จะต้องใช้เครื่องสแกนยิงเลเซอร์ จากนั้นเครื่องสแกนก็จะแปลง Barcode เป็นข้อมูลสินค้าชิ้นนั้นๆ ส่วนการอ่าน QR Code นั้นสะดวกกว่า เพียงใช้โทรศัพท์มือถือที่มีกล้องและโปรแกรม QR Code Reader เพื่อใช้ถ่ายภาพ QR Code จากนั้นโปรแกรมจะประมวลผล QR Code เป็นข้อมูลต้นฉบับ เช่น ชื่อเว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อความ เป็นต้น แสดงผลบนโทรศัพท์มือถือได้โดยตรง

ประโยชน์ของ QR Code

ปัจจุบันสามารถใช้งาน QR Code ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้แปลง URL หรือชื่อเว็บเพจที่ยาวหรือยากต่อการจดจำในรูปแบบภาพ เมื่อถ่ายภาพ QR Code ดังกล่าวแทนการพิมพ์ URL ด้วยสมาร์ทโฟนก็จะลิงค์เข้าสู่หน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ได้ทันที

หรือการเก็บบันทึกข้อมูลชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล บนนามบัตรลงในโทรศัพท์มือถือ จากเดิมที่ต้องพิมพ์ข้อมูล ก็เปลี่ยนมาเป็นการถ่ายภาพ QR Code แล้วข้อมูลก็จะบันทึกลงในโทรศัพท์ได้ทันที นอกจากนี้ QR Code ยังถูกนำไปใช้ในการโฆษณาอย่างกว้างขวาง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุ่น)

สำหรับท่านสมาชิกที่ใช้ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป ReadyPlanet ก็สามารถแปลงข้อมูลการติดต่อร้านค้าหรือองค์กรให้เป็น QR Code และติดตั้งบนหน้าเว็บไซต์ของท่านได้ไม่ยาก โดยมีขั้นตอนดังนี้

วิธีที่ 1

1. ไปที่เว็บไซต์ www.Google.com จากนั้นพิมพ์ข้อความในช่องค้นหา เช่น "สร้าง QR Code" แล้วกดค้นหา จะพบเว็บไซต์ให้บริการสร้าง QR Code ในที่นี้ขอยกตัวอย่างเว็บไซต์ http://tools.thaibizcenter.com/qrcode/
โดยเลือกคลิกแท็ปรูปแบบข้อมูลที่ต้องการแปลงเป็น QR Code เช่น คลิกตัวเลือก "Link" เพื่อแปลงชื่อเว็บไซต์ จากนั้นเลือกขนาดของรูป QR Code ที่ต้องการให้แสดงผล และกรอกชื่อเว็บไซต์ในช่อง URL (หากเป็นข้อมูลประเภทอื่น ๆ จะมีช่องให้กรอกรายละเอียดและเลือกขนาดรูป QR Code เช่นกันค่ะ) แล้วคลิก Get Code
ระบบจะแสดงผลรูป QR Code พร้อม Code สำหรับให้ copy ไปติดตั้งในเว็บไซต์ ให้ Copy Code ที่ปรากฎ หรือสามารถคลิก Save รูปภาพดังกล่าว เพื่อเก็บไว้ใช้งานภายหลังในช่องทางอื่น ๆ ได้

วิธีที่ 2

2. วิธีการติดตั้ง QR Code ในเว็บไซต์ในระบบ VelaClassic ให้ Log in เข้าส่วนสมาชิก ที่เมนู "จัดการเว็บไซต์" คลิก "พื้นที่แบนเนอร์"
(สำหรับผู้ที่ใช้ระบบเว็บไซต์สำเร็จรูป VelaEasy สามารถคลิก "เพิ่ม Widget" และเลือก "HTML" แล้ววางโค้ดได้เลยค่ะ)

วิธีที่ 3. คลิก "เพิ่ม" เพื่อเข้าสู่หน้าการสร้างแบนเนอร์


วิธีที่ 4


4. ให้ท่านเลือก "รูปแบบของแบนเนอร์" เป็น "ใช้ HTML Code" จากนั้น วางโค้ดที่ Copy มาในช่อง HTML Code และคลิก "ตกลง" เพื่อบันทึก
(กรณีบันทึก QR Code เป็นไฟล์รูปภาพ สามารถเลือกรูปแบบของแบนเนอร์เป็น "อัพโหลดแบนเนอร์เอง" ทำการ Browse เลือกรูปแทนการใส่ URL รูปแบนเนอร์ และกรอกข้อมูลอื่น ๆ เหมือนขั้นตอนข้างต้นค่ะ)
ตัวอย่างการแสดงผล QR Code บนหน้าเว็บไซต์ เมื่อมีผู้ชมนำโทรศัพท์มือถือมาถ่ายรูป QR Code บนหน้า ก็จะได้รับข้อมูลจาก QR Code ให้ลิงค์ไปยังหน้าเว็บ

วันพุธที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560

สเปคคอมพิวเตอร์และราคา

1.การใช้งานทั่วไป

CPU INTEL Pentium G4500
MB ASROCK B150M PRO4
RAM KINGSTON DDR4 4GB 2133
HDD Toshiba 500GB
PSU Linkworld LW2-600W
CASE CUBIC Alpha
MONITOR LENOVO LI2215s

2.การใช้งานสำหรับสำนักงาน

CPU INTEL Pentium G4560
MB MSI H110M PRO-VD PLUS
RAM KINGSTON Hyper-X Fury DDR4 8GB (4GBx2) 2400 Black x 1
HDD Western Digital Blue 1TB WD10EZEX x 1
PSU TSUNAMI Black Strom 550W
CASE AERO COOL CS-100 (Black)
MONITO RACER S200HQLHb x 1

3.โปรแกรมฟราฟฟิกและสื่อสิ่งพิมพ์

CPU INTEL Core i5-7400
MB MSI H110M-A PRO M2
VGA GALAX GT1030 EXOC WHITE 2GD5 2GB 
RAM Apacer PANTHER DDR4 8GB 2133 (8GBx1) Glay 
HDD Western Digital Blue 1TB WD10EZEX 
PSU TSUNAMI Black Strom 550W
CASE AERO COOL CS-1102 (Black)
COOLING ZALMAN CNPS10X Performa+
MONITOR BENQ GW2270 

4.การใช้งานกราฟฟิกขั้นสูง 


CPU INTEL Core i7-7700
MB GIGABYTE GA-X150M-PLUS WS
VGA LEADTEK Quadro K620 DDR3 2GB 
RAM G.SKILL Trident Z RGB DDR4 3200 32GB (16GBx2) 
HDD Western Digital Purple 2TB 20PURX 
SSD Western Digital WD BLUE 250GB 
PSU SILVERSTONE ST70F-PB 700W
CASE IN WIN 707 White
COOLING COOLER MASTER V8 GTS
MONITO RLG 27UD58 

5.การใช่งานสำหรับเล่นเกม 

CPU AMD Ryzen 7 1700
MB GIGABYTE AX370 GAMING 5
VGA GIGABYTE GTX1070 G1 GAMING 8GB 
RAM CORSAIR Dominator Platinum DDR4 3000 32GB 
HDD SEAGATE BARRACUDA 2TB
SSD KINGSTON Hyper-X Savage 480GB 
PSU ANTEC HCP-1000
CASE THERMALTAKE Core P5
COOLING COOLER MASTER Hyper 212 LED Turbo
MONITO RAOC AGON AG322FCX
 

สำหรับงานประมวลผลแบบที่2 *(จอภาพขนาดไม่น้อยกว่า19นิ้ว)ราคา30,000 บาท

  • มีหน่วยประมวลผลกลาง(CPU) ไม่น้อยกว่า 4 แกนหลัก(4 core) หรือ 8 แกนเสมือน(8 Thread) โดยมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาพื้นฐานไม่น้อยกว่า3.2GHzจำนวน 1 หน่วย
  • หน่วยประมวลผลกลาง(CPU)มีหน่วยความจำแบบ Cache Memoryขนาดไม่น้อยกว่า8 MB
  • มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพ โดยมีคุณลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือดีกว่า ดังนี้
   1)เป็นแผงวงจรเพื่อแสดงภาพแยกจากแผงวงจรหลักที่มีหน่วยความจ าขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB
   2)มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพติดตั้งอยู่ภายในหน่วยประมวลผลกลาง แบบ Graphics Processing Unit ที่สามารถใช้หน่วยความจำหลักในการแสดงภาพขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB
   3)มีหน่วยประมวลผลเพื่อแสดงภาพติดตั้งอยู่บนแผงวงจรหลัก แบบ Onboard Graphics ที่มีความสามารถในการใช้หน่วยความจ าหลักในการแสดงภาพขนาดไม่น้อยกว่า 1 GB
  • มีหน่วยความจำหลัก(RAM) ชนิดDDR3หรือดีกว่ามีขนาดไม่น้อยกว่า 8 GB 
  • มีหน่วยจัดเก็บข้อมูล(Hard Drive) ชนิดSATA หรือดีกว่าขนาดความจุไม่น้อยกว่า 2 TB หรือชนิด Solid State Driveขนาดความจุไม่น้อยกว่า240GBจำนวน1 หน่วย
  • มีDVD-RW หรือดีกว่าจำนวน1 หน่วย
  • มีช่องเชื่อมต่อระบบเครือข่าย(Network Interface) แบบ10/100/1000 Base-T หรือดีกว่าจำนวนไม่น้อยกว่า1 ช่อง
  • มีแป้นพิมพ์และเมาส์
  • มีจอภาพแบบLCD หรือดีกว่า มีContrast Ratio ไม่น้อยกว่า600:1 และมีขนาดไม่น้อยกว่า19 นิ้วจำนวน1 หน่วย 
 
Keyboard OKER (KB-188) Black
 
 
CPU AMD FX-8320
MB ASUS A88XM-A USB 3.1
VGA GIGABYTE R7 350 Over Clock 2GB 
RAM KINGSTON Hyper-X Fury DDR3 16GB (8GBx2) 1600 Black 
HDD Western Digital Purple 2TB 20PURX 
SSD SAMSUNG 750 EVO 250GB
PSU RAIDMAX Cobra 600W
CASE AERO COOL QS-182 (Black)
COOLING COOLER MASTER Hyper TX3
MONITO RACER S220HQLEBD
Keyboard OKER (KB-188) Black
Keyboard USB OKER (KB-188) Black ราคา 245 บาท
Mouse USB OKER (G69) Black ราคา 470 บาท
ราคาวรม 26,825 บาท
USB Keyboard OKER (KB-188) Black

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

Power Supply ATX Connector

Power Supply 

     แหล่งจ่ายไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือ พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์ ซัพพลายของคอมพิวเตอร์นั้นมีลักษณะการทำงาน คือทำหน้าที่แปลงกระแสไฟฟ้าจาก 220 โวลต์ เป็น 3.3 โวลต์, 5 โวลต์ และ 12 โวลต์ ตามแต่ความต้องการของอุปกรณ์นั้นๆ โดยชนิดของพาวเวอร์ซัพพลาย ในคอมพิวเตอร์จะแบ่งได้เป็น 2 ชนิดตามเคส คือแบบ AT และแบบ ATX

ประเภทของ Power Supply แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ

  • AT เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้กันในประมาณ พ.ศ. 2539 โดยปุ่มเปิด - ปิด การทำงานเป็นการต่อตรงกับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์บางตัว เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือซีพียู ที่ต้องอาศัยไฟในชั่วขณะหนึ่ง ก่อนที่จะเปิดเครื่อง (วิธีดูง่ายๆ จะมีสวิตซ์ปิดเปิด จากพาวเวอร์ซัพพลายติดมาด้วย)
  • ATX เป็นแหล่งจ่ายไฟที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยมีการพัฒนาจาก AT โดยเปลี่ยนปุ่มปิด - เปิด ต่อตรงกับส่วนเมนบอร์ดก่อน เพื่อให้ยังคงมีกระแสไฟหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ก่อนที่จะปิดเครื่อง ทำให้ลดอัตราเสียของอุปกรณ์ลง โดยมีรุ่นต่างๆ ดังนี้
  • ATX 2.01 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์ทั่วๆไปที่ใช้ตัวถังแบบ ATX สามารถใช้ได้กับเมนบอร์ดแบบ ATX และ Micro ATX
  • ATX 2.03 แบบ PS/2 ใช้กับคอมพิวเตอร์แบบ Server หรือ Workstation ที่ใช้ตัวถังแบบ ATX (สังเกตว่าจะมีสายไฟเพิ่มอีกหนึ่งเส้น ที่เรียกว่า AUX connector)
  • ATX 2.01 แบบ PS/3 ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตัวถังแบบ Micro ATX และเมนบอร์ดแบบ Micro ATX เท่านั้น 

ส่วนต่างๆ ของพาวเวอร์ซัพพลาย

  • ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า
  • ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้นอันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด
  • วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้
  • ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย
  • ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ
  • ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์
  • วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป
  • หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มีระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป
  • วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)
  • วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน 

หลักการทำงานของพาวเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย ทั้งแบบ AT และ ATX นั้นมีลักษณะการทำงานที่เหมือนกัน คือรับแรงดันไฟจาก 220-240 โวลต์ โดยผ่านการควบคุมด้วยสวิตช์ สำหรับ AT และเมนบอร์ด แล้วส่งแรงดันไฟส่วนหนึ่งกลับไปที่ช่อง AC output เพื่อเลี้ยงตัวมอนิเตอร์ และจะส่งแรงดันไฟ 220 โวลต์ อีกส่วนหนึ่งเข้าสู่หน่วยการทำงานที่ทำหน้าที่แปลงแรงดันไฟสลับ 220 โวลต์ ให้เป็นไฟกระแสตรง 300 โวลต์ โดยไม่ผ่านหม้อแปลงไฟ ระบบนี้เรียกว่า (Switching power supply ) และผ่านหม้อแปลงที่ทำหน้าที่แปลงไฟตรงสูงให้เป็นไฟตรงต่ำ โดยจะฝ่านชุดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กำหนดแรงดันไฟฟ้าอีกชุดหนึ่งแบ่งให้เป็น 5 และ 12 ก่อนที่จะส่งไปยังสายไฟและตัวจ่ายต่างๆ โดยความสามารถพิเศษของ Switching power supply ก็คือ มีชุด Switching ที่จะทำการตัดไฟเลี้ยงออกทันทีเมื่อมีอุปกรณ์ที่โหลดไฟตัวใดตัว หนึ่งชำรุดเสียหาย หรือช็อตนั่นเอง


  • -12V ไฟ-12V ใช้สำหรับสัญญาณเชื่อมต่อของพอร์ตอนุกรม (serial port หรือ com port) คู่กับไฟ +12V เท่านั้นซึ่งสัญญานี้แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน ถ้าใช้ก็ไม่มากนัก จึงมีกระแสที่จ่ายออกมาได้ไม่เกิน 1 แอมป์เท่านั้น
  • -5V เมื่อก่อนนี้ไฟ –5โวลต์ ใช้กับไดรว์ฟล็อปปี้ดิสก์และวงจรของการ์ด ISA บางตัว ซึ่งต้องการกระแสไม่มากนัก จึงจำกัดอยู่ทีไม่เกิน 1 แอมป์เท่านั้น
  • OV หมายถึง กราวนด์ ซึ่งใช้เทียบกับสัญญาณไฟต่าง ๆ ในเครื่อง
  • +3.3V เป็นแรงดันใหม่ที่เพิ่งมีในยุคหลังที่ซีพียูเริ่มทำงานที่แรงดันไฟต่ำกว่า 5โวลต์ ยุค Pentium เป็นต้นมา) มาตรฐานนี้เริ่มถูกกำหนดในเพาเวอร์
  • +5V ไฟ +5V ซึ่งเดิมมีบทบาทมากในเครื่องและเพาเวอร์ซัพพลายแบบ ATก็ยังคงต้องใช้อยู่มากในปัจจุบันสำหรับเมนบอร์ดและไดรว์ต่าง ๆ ซึ่งยังทำงานที่ 5 โวลต์อยู่
  • +12V ไฟ + 12V เป็นแรงดันไฟสำหรับมอเตอร์ของดิสก์และพัดลมเป็นหลักนอกนั้นก็จะมีอุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่ สัญญาณพอร์ตอนุกรมและการ์ดบางตัวที่ยังต้องการใช้อยู่  

Power Supply ATX Connector 20,24 PIN

 เกริ่นก่อนว่า PSU เป็นอุปกรณ์ที่หลายๆคนมองข้ามและไม่ค่อยเห็นความสำคัญ แต่จงรู้ไว้เถิดว่าการเลือกใช้ PSU คุณภาพต่ำคือต้นเหตุแห่งปัญหา 108 อย่าง และเป็นตัวบั่นทอนอายุการใช้งานอุปกรณ์อื่นๆภายในคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเรา ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสำหรับคอมเกมอย่างเราๆ ผมแนะนำให้เน้นไปที่ PSU ที่มีมาตรฐานและเครื่องหมาย 80plus หรือ 80+ ซึ่งเป็นเครื่องการันตีว่า ประสิทธิภาพในการจ่ายไฟแน่นอน รองรับ full-load หรือภาระในการจ่ายไฟสูงสุดคงที่แน่นอน หรือที่คนเล่นคอมส่วนใหญ่เรียกกันว่าเป็น PSU "วัตต์เต็ม" โดยจะเห็นเครื่องหมายดังนี้ติดอยู่ข้างกล่อง

Image 
80+
percent loading 100% , efficiency > 80%
Image
80+ bronze
percent loading 100% , efficiency > 82%
Image
80+ silver
percent loading 100% , efficiency > 85%
Image
80+ gold
percent loading 100% , efficiency > 87%

Image
80+ platinum
percent loading 100% , efficiency > 89%

ไล่เรียงตามประสิทธิภาพน้อยไปมาก นะครับ ตัวที่มีเครื่องหมาย platinum ถือว่าดีสุดๆแล้ว

โดยเราสามารถตรวจสอบรุ่นของ PSU ที่ได้รับเครื่องหมายนี้จริงหรือไม่ที่ link นี้ครับ http://www.plugloadsolutions.com/80Plus ... plies.aspx

การเลือกโดยการคำนวณกำลังไฟที่ต้องใช้ วิธีง่ายๆคือไปที่ link นี้ครับ >> http://www.antec.outervision.com/
จากนั้นเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของคุณลงไป แล้วกด calculate ก็จะแสดงกำลังวัตต์ที่ต้องการครับ เอาไว้สำหรับเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกซื้อนะครับ ยังไงก็แล้วแต่อาจจะต้องเผื่อกำลังวัตต์ในการเลือกซื้อไว้ด้วย การซื้อให้ใกล้เคียงนั้นอาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง ควรจะต้องเผื่อไว้ 100W เป็นอย่างน้อยนะครับ

สำหรับคนที่คิดจะประกอบคอมใหม่ๆไม่ค่อยมีความรู้เรื่องอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มากนัก ผมมีคำแนะนำง่ายๆกรณีที่เป็นคอมพิวเตอร์ประกอบงบประมาณไม่มาก อาจจะเลือกใช้ PSU ธรรมดาๆแต่วัตต์สูงๆไว้ก่อนได้ครับ แต่เน้นยี่ห้อและการรับประกันเป็นหลัก อาจจะทำให้สบายใจขึ้นมา

 ประสิทธิภาพของPowerSupply



การใช้มิเตอร์วัดไฟ Power Supply

ดำ + ดำ = 0 V
ดำ + แดง = 5 V
ดำ + ขาว = -5 V
ดำ + น้ำเงิน = -12 V
ดำ + ส้ม = 5 V
ดำ + เหลือง = 3.3 V
ดำ + น้ำตาล = 12 V

* เข็มมิเตอร์ตีกลับ ให้กลับสาย ใช้ค่า ติด -

*AC=220 V (L กับ N)
L1 380 Vac
L2 380 Vac
L3 380 Vac
N Nutron , G ไม่มีไฟ
*230W (23A) - 300W (30A)
โดย W=V*I

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วิเคราะห์ 7th Generation Intel® Core™ i7 Processors

 7th Generation Intel® Core™ i7 Processors

  • คอลเลกชั่นผลิตภัณฑ์  -  7th Generation Intel® Core™ i7 Processors
  • ชื่อรหัส  -  Kaby Lake เดิมของผลิตภัณฑ์
  • เซ็กเมนต์แนวตั้ง -  Desktop
  • หมายเลขโปรเซสเซอร์  -  i7-7700
  • สถานะ  -  Launched
  • วันที่วางจำหน่าย  -  Q1'17
  • การทำลวดลายวงจร  -  14 nm
  • ราคาที่แนะนำสำหรับลูกค้า  -  $303.00 - $312.00

ประสิทธิภาพ



  • # คอร์  -  4
  • # เธรด  -  8
  • ความถี่พื้นฐานของโปรเซสเซอร์  -  3.60 GHz
  • ความถี่เทอร์โบสูงสุด  -  4.20 GHz
  • แคช  -  8 MB SmartCache
  • ความเร็ว Bus  -  8 GT/s DMI3
  • # ลิงก์ QPI  -  0
  • TDP  -  65 W

ข้อมูลจำเพาะหน่วยความจำ

  • ขนาดหน่วยความจำสูงสุด (ขึ้นอยู่กับประเภทของหน่วยความจำ)  -  64 GB
  • ประเภทของหน่วยความจำ  -  DDR4-2133/2400, DDR3L-1333/1600 @ 1.35V
  • # แชนเนลหน่วยความจำสูงสุด  -  2
  • รองรับหน่วยความจำ ECC   -  ไม่ใช่

ข้อมูลจำเพาะระบบกราฟิก

  • กราฟิกโปรเซสเซอร์   -  Intel® HD Graphics 630
  • ความถี่พื้นฐานสำหรับกราฟิก  -  350.00 MHz
  • ความถี่แบบไดนามิกสูงสุดสำหรับกราฟิก  -  1.15 GHz
  • หน่วยความจำสูงสุดของวิดีโอกราฟิก  -  64 GB
  • การสนับสนุน 4K  -  Yes, at 60Hz
  • ความละเอียดสูงสุด (HDMI 1.4)‡     - 4096x2304@24Hz
  • ความละเอียดสูงสุด (DP)‡  -  4096x2304@60Hz
  • ความละเอียดสูงสุด (eDP  -  Integrated Flat Panel)‡  - 4096x2304@60Hz
  • การสนับสนุน DirectX*  -  12
  • การสนับสนุน OpenGL*  -  4.4
  • Intel® Quick Sync Video  -   ใช่
  • เทคโนโลยี Intel® InTru™ 3D  -   ใช่
  • Intel® Clear Video HD Technology  -  ใช่
  • Intel® Clear Video Technology  -   ใช่
  • # ของจอแสดงผลที่รองรับ   -   3
  • ID อุปกรณ์  -  0x5912

ตัวเลือกการขยาย

  • ความสามารถในการปรับขนาด  -  1S Only
  • การปรับปรุงแก้ไข PCI Express  -  3.0
  • การกำหนดค่า PCI Express   -  Up to 1x16, 2x8, 1x8+2x4
  • # สูงสุดของเลน PCI Express  -  16

ข้อมูลจำเพาะของแพ็คเกจ

  • รองรับซ็อกเก็ต  -  FCLGA1151
  • การปรับตั้งค่า CPU สูงสุด  -  1
  • ข้อมูลจำเพาะของชุดระบายความร้อน  -  PCG 2015C (65W)
  • TJUNCTION  -  100°C
  • ขนาดแพ็คเกจ  -  37.5mm x 37.5mm
  • มีตัวเลือกชนิดฮาโลเจนต่ำให้เลือกใช้  -  ดู MDDS

เทคโนโลยีขั้นสูง

  • สนับสนุนหน่วยความจำ Intel® Optane™   -  ใช่
  • เทคโนโลยี Intel® Turbo Boost   -   2.0
  • เทคโนโลยี Intel® vPro™   -  ใช่
  • Intel® Hyper-Threading Technology   -  ใช่
  • เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน Intel® (VT-x)   -  ใช่
  • เทคโนโลยีเวอร์ชวลไลเซชัน Intel® สำหรับ Directed I/O (VT-d)   -  ใช่
  • Intel® VT-x ที่มี Extended Page Tables (EPT)   -  ใช่
  • Intel® TSX-NI  -  ใช่
  • Intel® 64   -  ใช่
  • ชุดคำสั่ง  -  64-bit
  • ส่วนขยายชุดคำสั่ง  -   SSE4.1/4.2, AVX 2.0
  • สถานะไม่ได้ใช้งาน  -  ใช่
  • Enhanced Intel SpeedStep® Technology  -   ใช่
  • เทคโนโลยีการติดตามความเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ  -  ใช่
  • เทคโนโลยีการป้องกันข้อมูลส่วนตัวจาก Intel®   -  ใช่
  • Intel® Stable Image Platform Program (SIPP)  -  ใช่

Intel® Data Protection Technology

  • คำสั่งใหม่ของ Intel® AES  -  ใช่
  • Secure Key  -  ใช่
  • Intel® Software Guard Extensions (Intel®SGX)  -   ใช่
  • Intel® Memory Protection Extensions (Intel® MPX)  -   ใช่

Intel® Platform Protection Technology

  • OS Guard  -  ใช่
  • Trusted Execution Technology   -  ใช่
  • Execute Disable Bit   -  ใช่
  • Intel® Device Protection Technology พร้อมด้วย Boot Guard  -   ใช่